วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติวงคาราบาว


ครบรอบ ๒๕ ปี คาราบาว พ.ศ. ๒๕๔๙



วงดนตรี “คาราบาว” เริ่มต้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ โดยนักศึกษาที่ชื่อ ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) กับ กิรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร (เขียว) ได้รู้จักกันระหว่างที่ได้ไปศึกษาระดับปริญญาที่มหาวิทยาลัยมาปัวฯ ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งบุคคลทั้งสองร่วมกันก่อตั้งวงดนตรีชื่อ “คาราบาว” ขึ้นมา คำว่า คาราบาว แปลว่า ควาย เป็นภาษาตากาล๊อก ใช้เรียกควายพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ ควายเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการต่อสู้ แสดงถึงการทำงานหนัก แสดงถึงความอดทน อีกทั้งควายยังเป็นตัวแทนผู้ใช้แรงงาน และถือได้ว่าผู้ใช้แรงงานเป็นผู้ที่สร้างโลก ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ยืนยง โอภากุล จึงได้ใช้คำว่า “คาราบาว” พร้อมกับ “หัวควายมาเป็นสัญลักษณ์ของวงคาราบาว ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา

หลังจากสำเร็จการศึกษา กิรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร ได้ทำงานเป็นพนักงานฝ่ายประเมินราคาเครื่องจักรในบริษัทฟิลิปปินส์ ยาวนานถึง 6 ปี ส่วนยืนยง โอภากุล ก็ได้เดินทางกลับมาประเทศไทย เพื่อเริ่มงานเป็นสถาปนิกที่การเคหะแห่งชาติ พร้อมกับตระเวนเล่นดนตรีในเวลากลางคืนไปด้วย

เมื่อทุกอย่างลงตัว นายยืนยง โอภากุล ก็ได้ลาออกจากงานประจำ มาเอาดีทางด้านดนตรีอย่างเดียว พร้อมชักชวนให้เพื่อนสนิท กิรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร ที่กำลังทำงานในบริษัทฟิลิปส์ที่ตั้งอยู่สาขาในประเทศไทย ลาออกมาด้วยเช่นกัน เพื่อทำงานด้านดนตรี มาสร้างวงคาราบาว อย่างเต็มตัว




อัลบั้มชุดที่ 1 ของ “คาราบาว” เริ่มขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2524 ใช้ชื่อชุดว่า “ขี้เมา” โดยมีแอ๊ด และเขียวเป็นแกนนำ ซึ่งเพลงของคาราบาวในยุคนี้ ถือได้ว่าเป็นบทเพลงที่ได้รับอิทธิพลมาจากฟิลิปปินส์มาพอสมควร อย่างเช่น ลุงขี้เมา และเพลงที่ถือได้ว่าเป็นเพลงเปิดตัวของวงคาราบาวได้ดีที่สุดคือ เพลงมนต์เพลงคาราบาว ส่วนบทเพลงแรกของคาราบาวที่แอ๊ดได้ประพันธ์ไว้คือ “ถึกควายทุย” เป็นเรื่องราวของการใช้ชีวิตของบุคคลที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ถูกให้ ดำเนินเรื่องไปเรื่อยๆ ทุกอัลบั้ม จนกล่าวได้ว่าเป็นเพลงบัลลาดที่ถูกเล่าขานได้ยาวนานที่สุด

หลังจากที่อัลบั้มชุดแรกออกไปแล้วนั้น ยืนยง โอภากุล ได้ชักชวน ปรีชา ชนะภัย (เล็ก) มือกีต้าร์ และ อนุพงษ์ ประถมปัทมะ (อ๊อด) มือเบส เข้ามาร่วมวงคาราบาว ซึ่งในขณะนั้น เล็กและอ๊อด ได้เป็นนักดนตรีอาชีพประจำอยู่กับวงเพรสซิเด้นส์ และมีภาระกิจจะต้องไปทัวร์คอนเสิร์ตต่างประเทศกับเพรสซิเด้นท์ให้เรียบร้อย จึงกลับมาอยู่กับคาราบาวอย่างเต็มตัว

เข้าสู่ปี พ.ศ. 2525 ยุคสมโภชน์ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ 200 ปี อัลบั้มชุดที่ 2 “แป๊ะขายขวด” ได้เกิดขึ้นมา โดยได้ปรีชา ชนะภัย (เล็ก) เข้ามาเป็นสมาชิกคนที่ 3 ของคาราบาวและร่วมทำอัลบั้มนี้ออกมา โดยให้ พีค๊อกเป็นผู้ผลิต ซึ่งได้ทำเทปออกมา 20,000 ม้วน แต่ขณะนั้นทั้งสองอัลบั้มยังถือว่าไม่สบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่บทเพลงที่โดดเด่นในยุคนี้ก็คือ เพลงกัญชา ที่แอ๊ด คาราบาว มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในการร้อง โดยการลากเสียงได้ยาวนานจนทำให้ผู้ชมต้องเงียบสงัดกันไปเมื่อบทเพลงนี้ถูกร้องขึ้น

ด้วยความมุ่งมั่นของแอ๊ด ทำให้บทเพลงของคาราบาวมีเอกลักษณ์ โดยสะท้อนภาพของสังคมไทยมากขึ้น โดยแอ๊ดได้แต่งเพลงในสไตล์ที่เมืองไทยยังไม่มี ณ ขณะนั้น ในเพลงที่ชื่อว่า “วณิพก” โดยทำดนตรีจังหวะ 3 ช่า สนุกสนาน อีกทั้งเนื้อหาโดนใจคนฟัง และ “วณิพก” นี้เอง ได้ถูกตั้งเป็นชื่ออัลบั้มชุดที่ 3 ของคาราบาว ในปี พ.ศ. 2526 และอัลบั้มนี้เองทำให้ คาราบาวเป็นที่รู้จักของแฟนเพลงทั่วประเทศมากขึ้น และอัลบั้มชุดนี้ ได้มือเบส ที่ชื่อ ไพรัช เพิ่มฉลาด (รัช) เข้ามาร่วมทำงานกับวงคาราบาว

หลังจากนั้นไม่นาน คาราบาวได้ออกอัลบั้มชุดที่ 4 “ท.ทหารอดทน” และถือเป็นอัลบั้มแรกที่คาราบาวโดนแบนเพลง และเพลงที่ถูกแบนก็คือ ท.ทหารอดทน ซึ่งมีเนื้อหาที่ไปพาดพิงเกี่ยวกับทหาร นอกจากนี้ยังมีบทเพลงที่สะท้อนชีวิต เช่นเพลง ตุ๊กตา , คนเก็บฟืน ถือว่าเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมมาก และอัลบั้มชุดนี้ได้ นักดนตรีอาชีพจากห้องอัดอโซน่าเข้ามาเป็นสมาชิกร่วมกับคาราบาวอย่างเต็มตัว คือ เทียรี่ เมฆวัฒนา (รี่) ตำแหน่งกีต้าร์, อาจารย์ ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ตำแหน่งเครื่องเป่า และ อำนาจลูกจันทร์ (เป้า) ตำแหน่งกลอง

ต่อมาปี พ.ศ. 2527 คาราบาวขึ้นสู่จุดสูงสุด ด้วยอัลบั้มชุดประวัติศาสตร์ ชุดที่ 5 “เมดอินไทยแลนด์” เป็นอัลบั้มที่สร้างชื่อเสียงให้กับคาราบาวมากที่สุด ด้วยบทเพลงที่ชื่อ “เมดอินไทยแลนด์” ที่มีเนื้อหาประจวบเหมาะกับการลดค่าเงินบาทของรัฐบาลในสมัยนั้น แล้วรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ใช้สินค้าของไทย ทำให้เมดอินไทยแลนด์เป็นอัลบั้มที่ทะลุเป้า ยอดขายกว่า 5 ล้านตลับ และคาราบาวมีการทัวร์คอนเสิร์ตทั้งในประเทศและต่างประเทศ และอัลบั้มเมดอินไทยแลนด์นี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงนักดนตรีของคาราบาวครั้งสำคัญ ซึ่งมือเบสจากวงเพรสซิเด้นท์ได้เสร็จสิ้นภาระกิจทัวร์คอนเสิร์ตจากอเมริกา และกลับเข้ามาร่วมกับคาราบาว บุคคลผู้นั้นคือ อนุพงษ์ ประถมปัทมะ (อ๊อด) และบุคคลที่ต้องออกจากวงคาราบาวไปด้วยความเสียใจของประชาชน ก็คือ ไพรัช เพิ่มฉลาด (รัช) มือเบสเดิมของคาราบาว ทั้งนี้เป็นเรื่องของการต่อสู้ การทำงานของวงคาราบาว

ซึ่งนับได้ว่าอัลบั้มชุดเมดอินไทยแลนด์เป็นยุคที่มีสมาชิกครบทั้ง 7 คน ประกอบไปด้วย